แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก

คณะวิทย์ มศว พร้อมเป็นเจ้าภาพจัด แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก

รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือมูลนิธิ สอวน.เปิดเผยว่า กรณีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 20 วันที่ 1-10 ธันวาคม 2566

ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในประเทศ ได้แก่ มูลนิธิ สอวน., สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), ศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), National Coordinator Olympiad Netherlands และคณะวิทยาศาสตร์ มศว นั้น ซึ่งไทยมีส่วนร่วมในการส่งนักเรียนระดับชั้นมัธยมต้นไปร่วมแข่งขันมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก

โดยในปีนี้ถือเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวาระครบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และการที่ท่านได้รับการรับรองพระนามเป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การยูเนสโก และเป็นองค์ประธานมูลนิธิตอนจัดตั้งฯ ในปี 2542 มูลนิธิฯ จึงเล็งเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่ไทยได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 20

“การคัดเลือกตัวแทน มูลนิธิ และ สสวท.ร่วมกันรับสมัคร ซึ่งปีนี้มีนักเรียนทั่วประเทศ 10,500 คน ในรอบแรก จากนั้นจะทำการสอบเพื่อคัดกรองให้เหลือ 300 คน และมีการสอบคัดกรองอีกครั้งเพื่อให้เหลือ 30 คน นำมาเตรียมความพร้อมโดยการเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถเพื่อที่จะไปแข่งขันในระดับเวทีนานาชาติต่อไป และในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายที่กำลังคัดสรรหาตัวแทนประเทศไทย” รศ.ดร.พินิติ กล่าว

แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก

รศ.ดร.พินิติกล่าวอีกว่า การเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ในครั้งนี้ ทางมูลนิธิ และสสวท.เตรียมตั้งแต่ยื่นความจำนงที่จะเป็นเจ้าภาพมาในระยะเวลาหลายปี

และได้เล็งเห็นว่าคณะวิทยาศาสตร์ มศว มีความพร้อมทั้งบุคลากรที่จะจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก บุคลากรด้านวิชาการ และสถานที่ที่เหมาะสม เหมาะที่จะต้อนรับนักเรียนจากทั่วโลก และผู้ที่สนใจ โดยได้จัดตั้งคณะทำงานหลากหลายส่วน โดยเฉพาะคณะกรรมการวิชาการที่จะทำหน้าที่ออกข้อสอบสำหรับการแข่งขันในราย 3 วิชา คือ วิชาเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ซึ่งด้านการปฏิบัติจะเป็นการประยุกต์นำทั้ง 3 วิชาเข้าด้วยกัน และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อสอบ มาตรฐานของข้อสอบ จึงกล่าวได้ว่า ไทยมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งที่ 20 และมั่นใจว่าไทยจะจัดการแข่งขันได้อย่างดีที่สุด

ศ.ดร.ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มศว กล่าวถึงความพร้อมของสถานที่ในการจัดการ แข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ว่า มศว มีความพร้อมในการต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขันจากทั้ง 55 ประเทศ

โดยแต่ละประเทศส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน 6 คน รวมทั้ง ครูผู้คุมทีมประเทศละ 3 คน รวม 9 คนจากแต่ละประเทศ ซึ่งเบื้องต้นข้อสอบปฏิบัติการ ทางคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ มศว ถือเป็นผู้ออกข้อสอบหลัก ตอนนี้ได้ออกข้อสอบ 80% แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อสอบมีมาตรฐานในระดับนานาชาติ และในเรื่องของห้องปฏิบัติการ

ขณะนี้เตรียมความพร้อมโดยปรับปรุงห้อง lab ให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ เพื่อให้มีความพร้อมที่จะจัดการแข่งขัน ในส่วนของข้อสอบบรรยาย นอกจาก มศว ที่เป็นผู้ออกข้อสอบแล้ว ยังได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกข้อสอบ มีความพร้อมถึง 80% แล้วเช่นกัน

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ laparolaalconsumatore.net

แทงบอล

Releated